จดทะเบียนร้านอาหารบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในปัจจุบันมีธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขายของออนไลน์ ขายของแบบมีหน้าร้านหรือไม่มีหน้าร้าน ที่สร้างรายได้ให้กับเจ้าของธุรกิจ แต่การจดทะเบียนร้านค้ามีความสำคัญอย่างมากในการก่อตั้งธุรกิจ  แม้ว่าการขายอาหารในลักษณะเป็นรถเข็น หรือตั้งเป็นแผงลอย กฎหมายได้ยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนการค้าร้านอาหาร แต่ถ้าเปิดเป็นร้านอาหารมีที่นั่งรับประทานในร้าน จำเป็นจะต้อง จดทะเบียนการค้าร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นจดทะเบียนร้านอาหารบุคคลธรรมดา หรือ จดทะเบียนการค้าร้านอาหาร เพื่อให้เปิดขายได้อย่างเปิดเผย และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนร้านค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้

จดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดาต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

จดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดา

 

  • สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา

    • คำขอจดทะเบียนการค้า (แบบ ทพ.)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จดทะเบียนการค้า
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนการค้า กรณีที่ผู้จดทะเบียนการค้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้านของสถานที่ตั้งร้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
      • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
      • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    • แผนที่ตั้งของร้าน
    • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตัวเอง)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
    • ค่าธรรมเนียม 50 บาท
  • สถานที่จดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา

    • ในเขตกรุงเทพฯ ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตทุกเขต
    • ต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ร้านอาหารของเราตั้งอยู่

เมื่อเราเตรียมเอกสารทั้งหมดแล้ว สำหรับการจดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา ต้องจดภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มเปิดกิจการ และเมื่อจดทะเบียนการค้าร้านอาหารแล้ว เจ้าของกิจการร้านอาหารต้องแสดงใบทะเบียนการค้า (ใบทะเบียนพาณิชย์) ไว้ที่สำนักงานในบริเวณที่เปิดเผยและมองเห็นได้ง่าย และต้องติดป้ายชื่อร้านไว้หน้าร้าน รวมถึงถ้ามีร้านสาขาก็ต้องติดป้ายชื่อร้านบริเวณที่เปิดเผยด้วยเช่นกัน

  • สถานที่จดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา

    • ในเขตกรุงเทพฯ ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตทุก
    • ต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ร้านอาหารของเราตั้งอยู่

จดทะเบียนพาณิชย์แบบนิติบุคคล

การจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลจะมีขั้นตอนยุ่งยากกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดา เพราะในทางกฎหมายนิติบุคคลถือว่าธุรกิจนั้นแยกออกจากความเป็นบุคคลธรรมดา มีกฎหมาย กฎระเบียบ และความรับผิดชอบเฉพาะ ซึ่งประเภทของการจัดตั้งธุรกิจใหม่เป็นนิติบุคคลที่นิยมจดจะมี 2 ประเภท คือ บริษัทจำกัดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจดทะเบียนร้านอาหารแบบนิติบุคคล

    • คำขอจดทะเบียนการค้า (ทะเบียนพาณิชย์) (แบบ ทพ.)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
    • หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
    • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
    • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
    • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบร้านค้าไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตัวเอง)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
    • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 50 บาท
  • สถานที่จดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา

    • ในเขตกรุงเทพฯ ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่กระทรวงพาณิชย์
    • ต่างจังหวัด ยื่นจดที่พาณิชย์จังหวัดได้เลย

ทำไมควรจดทะเบียนร้านอาหาร

  • ความถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับ การจดทะเบียนร้านอาหารทำให้กิจการมีความถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสาธารณะ
  • สิทธิในการดำเนินกิจการอย่างถูกต้อง ซึ่งหมายถึงการได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ มอบให้ได้
  • สร้างความเชื่อถือในตลาดและผู้บริโภค โดยทำให้ร้านอาหารเป็นกลางที่มีความเชื่อถือและสามารถที่จะแข่งขันได้ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงได้ เนื่องจากผู้บริโภคมั่นใจว่าร้านอาหารมีคุณภาพและปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้
  • ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เนื่องจากมีเอกสารและขั้นตอนที่ชัดเจน เช่น การจัดการพนักงาน การจัดการอาหารและสารอาหาร และการบริการลูกค้าที่ดี เพื่อสร้างมูลค่าให้กับกิจการในระยะยาว

อยากเปิดร้านอาหารต้องจดทะเบียนการค้าหรือไม่

ร้านอาหารไม่มีหน้าร้าน (Ghost Kitchen) ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไหม

ในยุคที่หากอยากเปิดร้านอาหารแต่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถเปิดร้านอาหารได้ หรือที่เรียกกันว่า Ghost Kitchen ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจร้านอาหาร แบบที่มีเฉพาะครัวเท่านั้น ไม่มีที่นั่งสำหรับรองรับลูกค้าที่หน้าร้าน เน้นขายอาหารผ่านทางออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ (Food Delivery) ต่าง ๆ ก็มีความจำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เพราะหากไม่จดถือว่าเรามีความผิดตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท และมีค่าปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 100 บาทอีกด้วย 

จดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดา-แบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร

ข้อแตกต่าง บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
การประกอบกิจการ มีอิสระ คล่องตัวกว่า ตัดสินใจง่าย และรวดเร็วกว่า เนื่องจากมีเจ้าของกิจการคนเดียว เกิดไอเดียที่หลากหลาย แต่จะตัดสินใจล่าช้ากว่า และอาจเกิดความขัดแย้งได้ง่ายกว่า
การลงทุน เงินทุนคงที่ตามที่เจ้าลงทุน มีเงินทุนหมุนเวียน จากการซื้อขายหุ้นส่วน แถมระดมทุนจาก ที่อื่นได้ง่ายกว่า
ผลกำไร กำไรหรือขาดทุน เจ้าของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบผู้เดียว

แบ่งกำไรตามสัดส่วนการ

ถือหุ้น

การจดทะเบียน ขั้นตอนง่าย ไม่ซับซ้อน มีขั้นตอนจัดการที่ยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายดำเนินการสูงกว่า
ความน่าเชื่อถือ

ความน่าเชื่อถือน้อยกว่า

อาจจะถูกมองว่าไม่มั่นคง

ผลกำไร

บุคคลภายนอกมองว่าน่า

เชื่อถือกว่า

การเสียภาษี เสียภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ว่าปีนั้นจะขาดทุน เสียภาษีโดยคำนวณจากผลกำไรของกิจการ

สิ่งที่อาจต้องใช้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการจดทะเบียน

  • ใบอนุญาตสะสมอาหาร

ในการทำร้านอาหาร อาจจะต้องมีการจัดสต๊อกวัตถุดิบจำนวนมาก ๆ เพื่อควบคุมราคาต้นทุน ซึ่งมีวัตถุดิบบางประเภทที่จะต้องขออนุญาตก่อน เช่น เนย, เนยเทียม, กาแฟทุกรูปแบบ, น้ำส้มสายชู, ไวน์, ปลาร้า เป็นต้น

  • ภาษีป้าย

ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น รวมถึงโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ในทุกรูปแบบ

  • ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา

ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราและใบอนุญาตยาสูบ ที่กรมสรรพสามิตในพื้นที่ร้านอาหารของคุณ โดยใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี

  • การขออนุญาตตั้งสถานบริการ

หากเป็นร้านที่มีการแสดงดนตรีสด หรือเข้าข่ายสถานบันเทิง จะต้องมีการขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ ขออนุญาตตั้งสถานบริการกับสำนักงานเขต หรือกรมปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน

  • ลิขสิทธิ์เพลง

หากมีการเปิดเพลงจากแผ่นบันทึกเสียง หรืออินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน โดยอัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับเจ้าของลิขสิทธิ์กำหนด

ไม่ว่าจะจดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ยังมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีป้าย ภาษีที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย ใครที่อยากเปิดร้านอาหารสามารถทำการค้าได้อย่างเปิดเผย และสร้างความน่าเชื่อถือให้ร้านค้า และเพิ่มยอดขายโดยการสมัคร GrabMerchant หรืออยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ https://www.grab.com/th/merchant/