เปิดร้านขายอาหารออนไลน์ ขายของกินออนไลน์ สมัยนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ใคร ๆ ก็สามารถเปิดได้ เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหารายได้เสริม แม้ไม่มีหน้าร้านก็สามารถทำได้ เพียงแค่สมัครเข้าไปในเว็บ แอปขายของต่าง ๆ ก็ขายได้แล้ว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่ทำธุรกิจขายอาหารออนไลน์แล้วจะประสบความสำเร็จทุกคน เพราะหากเตรียมตัวไม่ดี ไม่มีการวางแผนในการขาย และควบคุมบริหารจัดการไม่ดี ก็มีโอกาสขาดทุนได้เช่นกัน วันนี้เราเลยมีวิธีการเตรียมตัวสำหรับมือใหม่ที่อยากเปิดร้านขายอาหารออนไลน์มาฝากกัน ไปดูกันเลย
1. การเลือกเมนูและประเภทอาหารที่จะขาย
ในการเริ่มต้นขายอาหารออนไลน์เราต้องค้นพบก่อนว่าอาหารประเภทไหนที่เราถนัดและอยากขาย ลองทำ ลองชิม และเริ่มวางคอนเซ็ปต์ชื่อร้าน โลโก้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว อาหารหวาน จะมีเมนูเดียว หรือหลายเมนูก็ได้ อยู่ที่ความสามารถเรา ให้ง่ายตอนการเริ่มต้นขายทั้งการโปรโมทและหาวัตถุดิบ ซึ่งก็มีอยู่สองแบบให้เลือกสำหรับการขาย
-
- ทำขายเอง
เราสามารถควบคุมต้นทุน และคุณภาพของวัตถุดิบ รสชาติอาหาร แต่ควรระวังเรื่องการเก็บรักษาวัตถุดิบที่ต้องคำนวณการซื้อ หรือกำลังการผลิต เพราะหากมียอดสั่งซื้อมากแต่ไม่สามารถผลิตได้ทันตามออร์เดอร์ ก็อาจส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของร้านได้ การขายเองจึงเหมาะกับรูปแบบ เปิดพรีออเดอร์ เพื่อนับจำนวน และวางแผนการผลิตได้ล่วงหน้า หรือรูปแบบร้านอาหารออนไลน์ทั่วไปที่สั่ง ณ ตอนนั้นและจัดทำตามออร์เดอร์
-
- รับสินค้ามาขาย
รูปแบบนี้จะประหยัดเวลาในการผลิตเพียง ลงทุนซื้อของมาแล้วบวกกำไรเพิ่มเติม ซึ่งเหมาะกับอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูปที่เก็บได้นาน แต่ก็ต้องยอมแลกกับเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบที่ไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงอาจต้องใช้เงินทุนในการซื้อสินค้ามาสต๊อก เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่งให้กับลูกค้า
-
อาหารที่ขายเหมาะสำหรับขายเดลิเวอรีหรือไม่ ?
การขายอาหารเดลิเวอรีนั้น มีเรื่องของการขนส่งเข้าเกี่ยวข้องด้วย ร้านต้องคำนึงว่า อาหารที่ขาย บรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารสามารถขนส่งด้วยไรเดอร์ได้ไหม เมื่อไปถึงมือลูกค้า อาหารจะยังน่ารับประทานอยู่หรือเปล่า ที่สำคัญลูกค้าที่สั่งอาหารออนไลน์ เขาต้องการความสะดวกสบาย อาหารที่ทำขายจึงควรเป็นอาหารที่พร้อมรับประทาน
-
เวลาในการเตรียมอาหาร ไม่ควรเกิน ( 15 -30 นาที )
การขายอาหารเดลิเวอรี่ ต่างจากการทำอาหารขายหน้าร้านที่ลูกค้าสั่ง ร้านทำเสร็จก็ยกเสิร์ฟจากครัวเพียงไม่กี่ก้าว การทำอาหารขายเดลิเวอรีต้องเผื่อเวลาสำหรับการจัดส่งเอาไว้ด้วย โดยการเตรียม และปรุงอาหารไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 – 30 นาที เพราะหากนานกว่านั้น จะส่งผลให้ไรเดอร์ต้องมานั่งรอ และลูกค้าอาจจะไม่พอใจที่ต้องรออาหารนานเกินไป
2. การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับอาหาร
- บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับการจัดส่งเดลิเวอรี
การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับการจัดส่งเดริเวอรีมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากต้องการให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยไม่เสียหาย ยังคงความหน้าตาความน่ารับประทานของอาหารให้คงเดิมมากที่สุด และไม่หกเลอะเทอะ
- เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้ลูกค้ามือสะอาดอยู่เสมอ
บรรจุภัณฑ์อาหารที่ออกจากร้านไปจนถึงมือลูกค้า ควรสะอาดอยู่เสมอ และเมื่อลูกค้าหยิบจับแล้วมือต้องยังสะอาดอยู่ ไม่ต้องเปลืองกระดาษทิชชู หรือเดินไปล้างมือหลาย ๆ รอบ อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ถ้าร้านอาหารใส่ใจก็สามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าอยากกลับมาอุดหนุนซ้ำอีกแน่นอน
- เลือกบรรจุภัณฑ์ที่แพ็คง่าย เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
นอกจากการนึกถึงแต่ลูกค้าแล้ว การเลือกบรรจุภัณฑ์อำนวยความสะดวกให้ร้านค้าก็สำคัญมากไม่แพ้กัน ควรเลือกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต้องประกอบเองหรือดัดแปลงเยอะ เพียงต้องแน่นหนา บรรจุได้ง่าย รวดเร็ว และต้องหาซื้อได้ง่าย เพราะการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์บ่อย ๆ เพราะอาจทำให้ลูกค้าจำอัตลักษณ์ของร้านไม่ได้ และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดจากความไม่เคยชินได้เช่นกัน
- เลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับเมนูอาหาร
อาหารบางเมนู ไม่ได้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์ทุกชนิด เพราะฉะนั้น การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับเมนูอาหาร จะช่วยคงหน้าตา รสชาติ และความสดใหม่ของอาหารเอาไว้ได้
- บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวก
หากอาหารของเราสามารถเปิดกล่องทานได้ทันที อาจเลือกเป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือถ้าอาหารต้องอุ่นในไมโครเวฟก่อนทาน ก็ควรเลือกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้เลย โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์อันใหม่ เป็นต้น
3. คำนวณต้นทุน กำหนดราคาอาหารที่จะขาย
การคำนวณต้นทุนและกำหนดราคาขายสินค้าอาหารออนไลน์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยทั่วไปจะตั้งราคาขายจากต้นทุนวัตถุดิบอยู่ที่ 30 – 35% ซึ่งก่อนที่เราจะตั้งราคาขายได้ เราจะต้องรู้จำนวนต้นทุนทั้งหมดก่อน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่า และต้นทุนแปรผัน เช่น วัตถุดิบ แก๊ส ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ หากยิ่งคำนวณต้นทุนได้ถูกต้องมากเท่าไร ทำให้ทราบผลกำไรได้แม่นยำมากขึ้น ส่งผลให้สามารถวางแผนบริหารจัดการร้านค้าได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
4. การเลือกช่องทางขายของกินออนไลน์ Food Delivery
ก่อนตัดสินใจเลือก Food Delivery เจ้าไหน ควรศึกษาดูก่อนว่าการสมัครเปิดร้านขายอาหารออนไลน์กับแต่ละเจ้ามีเงื่อนไขต่างกันอย่างไร เจ้าไหนดีกว่า ความยาก-ง่าย ในการเปิดร้าน เพราะบางที เราต้องการเปิดร้านแล้ว แต่ต้องทำเรื่องยุ่งยาก รอการอนุมัติเป็นเดือนก็ทำให้เราเสียโอกาสไป รวมไปถึงการเลือก Food Delivery นั้น ๆ จะต้องเป็นที่นิยม เชื่อถือได้ ลูกค้าใช้งานเยอะ เพราะจะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น สำหรับ GrabMerchant ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าได้เช่นกันค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.grab.com/th/merchant/
5. ทำร้านให้ดึงดูดลูกค้า
- ตั้งชื่อร้านให้จดจำง่าย
มีชื่อเมนูหลักของร้านด้วยยิ่งดี การตั้งชื่อร้านให้ค้นหาเจอได้ง่าย แปลกใหม่ แต่น่าสนใจ โดดเด่น แต่ไม่ซ้ำกับร้านอื่น
- รูปอาหาร รูปร้าน ต้องน่ากิน
นอกจากชื่อร้านที่เสิร์ชง่าย ชื่อเมนูน่าสนใจแล้ว ภาพอาหารก็เป็นส่วนสำคัญในการประกอบการตัดสินใจสั่งซื้อของลูกค้า เทคนิคที่อยากจะแนะนำในการเลือกรูปมาเป็นปกร้านอาหาร ได้แก่
- เลือกรูปเมนูหลักหรือเช็ตอาหารที่ร้านขาย เช่น ขนมปังกับ กาแฟ เป็นต้น
- เลือกรูปเมนูอาหารที่น่ากินและมีปริมาณที่ดูคุ้มค่า น่าซื้อ
- รูปมีความโดดเด่น สะดุดตา ชวนให้อยากลิ้มลอง
- ทำการตลาดผ่านแอปฯ Food Delivery ที่ใช้
ไหน ๆ เราก็เปิดร้านขายบนแอปฯ Food Delivery อยู่แล้ว การร่วมแคมเปญโปรโมท หรือโปรโมชั่นร้านค้าก็เป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นยอดขาย และเพิ่มโอกาสดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ในการสั่งซื้ออาหารจากร้านเราได้ นอกจากนี้ ถ้าเป็น GrabMerchant หากร้านใดกำลังจัดโปรฯ อยู่ แอปฯ จะช่วยโปรโมทให้สื่อโฆษณา ยิงโฆษณาเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย
ใครที่อยากเริ่มทำธุรกิจขายอาหารออนไลน์ สามารถนำเทคนิคง่าย ๆ ไปลองปรับใช้ดูกันได้นะคะ เพราะการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดร้านอาหารออนไลน์นั้นป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะมีตัวช่วยดี ๆ ของ GrabMerchant ที่จะเป็นพาร์ทเนอร์คอยช่วยร้านค้า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฐานลูกค้า ทำการตลาด และบริการจัดส่งให้ร้านค้า กระตุ้นยอดขายปัง ๆ กำไรพุ่งๆ ลูกค้าติดใจ หากสนใจสมัคร GrabMerchant หรือดูรายละเอียดได้ที่ https://www.grab.com/th/merchant/