วัคซีนเพื่อคนไทย พร้อมใจสู้ไปด้วยกัน

วัคซีนเพื่อคนไทย พร้อมใจสู้ไปด้วยกัน

แกร็บ เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” วันที่ 28 - 30 ก.ย. 2564 นี้

แกร็บ เปิดลงทะเบียนจองวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” ภายใต้โครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย พร้อมใจสู้ไปด้วยกัน” ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี และ ระยอง แก่ประชาชนในกลุ่มอาชีพเสี่ยง* และบุคคลทั่วไปที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 มาก่อน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

วันและเวลาลงทะเบียน

เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2564 เป็นต้นไป (ระบบจะปิดอัตโนมัติหากมีการลงทะเบียนเกินจำนวนที่กำหนด)

สถานที่ฉีดวัคซีน

สถานที่ในการฉีดวัคซีนขึ้นอยู่กับจังหวัดที่เลือกรับบริการ โดยจะมีการแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ผู้ลงทะเบียนรับทราบอีกครั้งผ่าน SMS

ช่องทางการลงทะเบียน

กรุงเทพมหานคร (กดที่นี่)
ต่างจังหวัด** (กดที่นี่)

วิธีลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19

  1. ลงทะเบียนผ่านแบบฟอร์มเพื่อขอรับสิทธิ
  2. รอการยืนยันการได้รับสิทธิฉีดวัคซีน รวมถึงวัน เวลาและสถานที่ในการเข้ารับวัคซีน ผ่านทาง SMS ภายใน 7 วัน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับวัคซีนโควิด-19

  • อายุระหว่าง 18 – 60 ปี
  • ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน (หากเคยติดโควิด-19 ควรทิ้งระยะประมาณ 3-6 เดือนก่อนรับวัคซีนโควิด-19 หรือปรึกษาแพทย์ก่อนการเข้ารับวัคซีน)

คำถามทั่วไป

ถาม : หากไม่ได้อาศัยอยู่ในจังหวัดดังกล่าว สามารถขอรับวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ตอบ : ได้ หากสามารถเดินทางมาตามสถานที่ในวันเวลาที่นัดหมายได้

ถาม : หากต้องการยกเลิกการขอรับวัคซีนโควิด-19 ต้องแจ้งแกร็บ หรือไม่
ตอบ : กรุณาแจ้งการยกเลิก (กดที่นี่)

ถาม : หากไม่สะดวกเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวันเวลาที่แจ้งผ่าน SMS จะสามารถขอเลื่อนวันได้หรือไม่
ตอบ : หากไม่สะดวกมารับการฉีดวัคซีนในวันและเวลาที่แจ้ง ถือว่าท่านสละสิทธิทันที และไม่สามารถรับการเปิดสิทธิในรอบถัดไป

ถาม : ในแต่ละรอบมาสายได้หรือไม่
ตอบ : แนะนำให้ท่านมาก่อนเวลา 15 นาที หากท่านมาสายเกินเวลา อาจจะเสียสิทธิ และไม่สามารถรับประกันการเปิดสิทธิในรอบถัดไปให้ท่านได้

ถาม : กรณีได้รับ SMS แล้วเผลอลบ สามารถดูข้อมูลได้ที่ไหนบ้าง
ตอบ : หากได้รับ SMS แล้วแนะนำให้จดวันเวลาและสถานที่ลงในปฎิทิน เนื่องจากหากกดลบ SMS ดังกล่าวแล้วจะไม่สามารถเช็ควันเวลาและสถานที่ได้อีก อย่างไรก็ดี ผู้เข้ารับวัคซีนไม่จำเป็นต้องโชว์ SMS ให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เพียงแค่ผู้เข้ารับวัคซีนมาที่โรงพยาบาลตามวันเวลาที่ระบุไว้ใน SMS ก็ถือเป็นอันเรียบร้อย

ถาม : เมื่อฉีดวัคซีนเสร็จแล้ว จะมีการยืนยันขึ้นในระบบหมอพร้อมหรือไม่
ตอบ : เนื่องจากตอนนี้ระบบหมอพร้อมและระบบของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ยังไม่เชื่อมต่อกันอย่างเรียบร้อย ดังนั้นผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มจะยังไม่มีข้อมูลขึ้นในระบบหมอพร้อม (หรือขึ้นในระบบช้า) ทั้งนี้ ผู้รับวัคซีนจะได้รับเอกสารยืนยันการฉีดวัคซีนจากโรงพยาบาลหลังจากฉีดวัคซีนเสร็จ โดยเอกสารจะระบุการรับวัคซีนเข็มที่ 1 และนัดหมายการเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2

ถาม : หากกรอกข้อมูลตอนลงทะเบียนผิด ต้องทำอย่างไร
ตอบ : หากกรอกข้อมูลผิด เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์ผิด ให้กรอกข้อมูลที่ผิดเหล่านั้นในฟอร์มแจ้งการยกเลิก (กดที่นี่) หลังจากแจ้งยกเลิกข้อมูลที่ผิดแล้ว ให้เข้าไปกรอกข้อมูลเพื่อขอรับวัคซีนใหม่ผ่านลิงค์ลงทะเบียน ทั้งนี้ หากสิทธิการขอรับวัคซีนเต็มแล้ว ฟอร์มลงทะเบียนจะถูกปิดทันทีและแกร็บขอสงวนสิทธิไม่อนุโลมการขอสิทธิคืนหลังจากกดยืนยันยกเลิกสิทธิในทุกกรณี

หมายเหตุ

(*) ประชาชนกลุ่มอาชีพเสี่ยงที่เผชิญความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษในการรับเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องสัมผัสกับบุคลจำนวนมาก อาทิ (1) คนขับรถโดยสารสาธารณะ (คนขับแท๊กซี่ สามล้อ วินมอเตอร์ไซค์) (2) ฟู้ดเดลิเวอรีไรเดอร์ส่งอาหารหรือคนขับจัดส่งอาหาร (3) บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่แนวหน้าที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทั้งโดยตรงและทางอ้อม (4) เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ เด็กอ่อน คนพิการ (5) พนักงานเก็บขยะ (6) พนักงานบริการในสนามบิน (7) พาร์ทเนอร์ร้านค้า
(**) ต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น ชลบุรี และ ระยอง โดยเกณฑ์ในการเลือก คือ (1) จังหวัดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรมาก (2) จังหวัดที่มีอัตราการติดเชื้อสูง
(***) เงื่อนไขเป็นไปตามที่แกร็บกำหนด


ข้อควรปฏิบัติก่อน-ระหว่าง-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. ก่อนเข้ารับวัคซีน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
    • ดื่มน้ำเปล่า ปริมาณตามปกติที่ร่างกายต้องการ ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมากเกิน-ไป
    • ออกกำลังกายได้ตามปกติที่เคยทำ แต่ไม่ควรหักโหมมากเกินไป ถ้ามีไข้ให้งดก่อน
    • พักผ่อนให้เพียงพอ
    • หากดื่มกาแฟ-ชา เป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องงด แต่หากนานๆ ดื่มที แนะนำให้งดก่อน
  2. อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง มีอะไรบ้าง
    • ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณที่ฉีด
    • ไข้ต่ำ
    • ปวดศีรษะ
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • อ่อนเพลีย
  3. อาการไม่พึงประสงค์ที่ควรพบแพทย์ มีอะไรบ้าง
    • ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
    • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
    • เวียนหัว ชัก แขน-ขาอ่อนแรง
    • มีอาการลมพิษ คลื้นไส้ อาเจียน
    • ท้องเสียรุนแรง
  4. วิธีปฏิบัติเบื้องต้น หากมีอาการไม่พึงประสงค์
    • หากมีอาการปวด, เวียนศีรษะ ให้นอนราบลง ห้ามลุกหรือยืนเร็วๆ
    • หากหายใจไม่สะดวก ให้นั่งเอนตั้งศีรษะสูง
    • รีบพบแพทย์ ติดต่อเบอร์ 1422, 1669
  5. หลังการรับวัคซีน ควรปฏิบัติตนอย่างไร
    • หากมีไข้ ให้กินยาลดไข้ พาราเซตามอล โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  6. เช็กให้ชัวร์ เพื่อการรับวัคซีน
    • มีประจำเดือน – รับวัคซีนได้ฉีดได้
    • ผู้ที่แพ้อาหาร – รับวัคซีนได้ฉีดได้
    • ผู้ที่กินยาโรคประจำตัว – รับวัคซีนได้ฉีดได้
    • มีอาการไข้ – ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน
    • ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง(ทางเดินหายใจ, หัวใจ-หลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง,โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง,โรคเบาหวาน) – ควรรับวัคซีน
    • ผลข้างเคียงหลังรับวัคซีน อาการน้อย-มาก ไม่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน