การต่อ พ.ร.บ.และการต่อภาษี รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องใส่ใจ ไม่ให้หมดอายุ เพราะหากไม่ได้ต่อภาษี อาจทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ และมีค่าปรับ หรือ หากรถไม่มีพ.ร.บ. ก็จะถือว่าผิดกฎหมาย และมีค่าปรับด้วยเช่นกัน
เอกสารสำคัญในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?
- สำเนาบัตรประชาชน
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้
- ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถยนต์อายุครบ 7 ปีขึ้นไป)
- ใบตรวจเช็คสภาพถังแก๊ส (กรณีรถติดแก๊สเท่านั้น)
ต่อ พ.ร.บ. ต้องตรวจสภาพรถไหม?
สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่มีรถอายุครบ 7 ปีขึ้นไป และในกรณีรถมอเตอร์ไซค์ที่มีรถอายุ 5 ปีขึ้นไป ต้องตรวจสภาพรถที่ตรอ. ทุกปีก่อนไปดำเนินการต่อพ.ร.บ.เท่านั้น และหากรถของคุณที่ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 1 ปี โดยไม่สนว่ารถจะมีอายุการใช้งานมากี่ปีแล้วก็ตาม จะต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ พ.ร.บ.เสมอ
ต่อ พ.ร.บ. มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
อัตราค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถยนต์ เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถบรรทุก ฯลฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
ประเภทรถยนต์โดยสาร
- รถยนต์เก๋ง ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 600 บาท
- รถตู้ จำนวน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,100 บาท
- รถโดยสาร เกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 2,050 บาท
- รถโดยสาร เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 3,200 บาท
-
ประเภทรถกระบะ – รถบรรทุก
- รถกระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 900 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,220 บาท
- รถบรรทุก น้ำหนักเกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 1,310 บาท
-
ประเภทรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
- ไม่เกิน 75 ซี.ซี. คิดในอัตรา 161.57 บาท/ปี
- เกิน 75-125 ซี.ซี. คิดในอัตรา 323.14 บาท/ปี
- เกิน 125-150 ซี.ซี. คิดในอัตรา 430.14 บาท/ปี
- เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป คิดในอัตรา 645.21 บาท/ปี
- รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คิดในอัตรา 323.14 บาท/ปี
-
ประเภทรถจักรยานยนต์รับจ้าง / ให้เช่า
- ไม่เกิน 75 ซี.ซี. คิดในอัตรา 161.57 บาท/ปี
- เกิน 75-125 ซี.ซี. คิดในอัตรา 376.64 บาท/ปี
- เกิน 125-150 ซี.ซี. คิดในอัตรา 430.14 บาท/ปี
- เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป คิดในอัตรา 645.21 บาท/ปี
- รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คิดในอัตรา 323.14 บาท/ปี
-
รถประเภทอื่น ๆ
- รถลากรถพ่วง รถหัวลากจูง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 2,370 บาท
- รถพ่วง ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 600 บาท
- รถยนต์ใช้ในการเกษตร ค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ 90 บาท
วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
เมื่อเตรียมเอกสารตามที่เราแนะนำไปข้างต้นเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมอัปเดตข้อมูลต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท เพื่อเตรียมเงินไปให้พร้อม และคุณสามารถต่อพ.ร.บ.รถยนต์ได้ที่
- ตัวแทนประกันภัย หรือโบรกเกอร์ประกันภัย
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
- กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งทุกพื้นที่
(สามารถทำผ่านเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก ผู้ใช้งานครั้งแรกหากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ก่อน)
พ.ร.บ. รถยนต์ VS ป้ายภาษี
พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ นั้นมีความแตกต่างกัน โดย พ.ร.บ.รถยนต์ คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในขณะที่ ภาษีรถยนต์ คือ การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่จ่ายไปก็จะนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไร
สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้น ผู้ประสบภัยทุกคนสามารถเบิกได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกในอุบัติเหตุก็ตาม โดยมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
ตารางความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้รับโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด) | |
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) | ไม่เกิน 30,000 |
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | 35,000 |
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม หรือ ค่าเสียหายส่วนเกิน (ได้รับเฉพาะฝ่ายถูก) | |
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ | ไม่เกิน 80,000 |
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง | 500,000 |
2.3 กรณีทุพพลภาพถาวร | 300,000 |
2.4 กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง | 500,000 |
2.5 สูญเสียอวัยวะ – นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป – สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน – สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน |
200,000 250,000 500,000 |
2.6 เงินชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีพักฟื้นเป็นผู้ป่วยใน) |
สูงสุดไม่เกิน 4,000 |
ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม
สำหรับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ว่าใครก็สามารถเบิกได้ แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถก็ตาม เพราะตามเงื่อนไข เป็นหลักประกันที่สามารถช่วยจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการต่ออายุ พ.ร.บ. จึงเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด เพราะ พ.ร.บ.รถยนต์จะคุ้มครองคนที่ประสบภัยบนท้องถนนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ ผู้โดยสารในรถ บุคคลภายนอกที่เป็นคู่กรณี หรือคนเดินถนน ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เลย อีกทั้งยังจ่ายค่าชดเชยต่าง ๆ ให้อีกด้วย แต่การคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
คุณเป็นฝ่ายผิด เบิกอะไรได้บ้างจาก พ.ร.บ.รถยนต์
- ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท
- การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท
คุณเป็นฝ่ายถูก เบิกอะไรได้บ้างจาก พ.ร.บ.รถยนต์
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่น ๆ สูงสุด 80,000 บาท
- การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท
- ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)
ซึ่งในกรณีนี้คุณเป็นคนขับไปชนคนอื่น แปลว่าคุณเป็นฝ่ายผิด แต่ถึงจะเป็นฝ่ายผิดยังไง พ.ร.บ.รถยนต์ก็คุ้มครองอยู่ดี ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่ากฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วถ้า พ.ร.บ.รถยนต์ รีบต่ออายุ พ.ร.บ.รถยนต์ด้วยนะครับ เพื่อความคุ้มครองจะได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลังจากต่อ พ.ร.บ.รถยนต์และต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถขับขี่ได้อย่างสบายใจไม่ว่าจะส่งอาหารหรือไปรับส่งใครก็ไม่ต้องเป็นห่วง ซึ่งหากใครที่สนใจ อาชีพขับรถส่งคน หรือส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ สนใจสมัคร ขับรถส่งคน หรือส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ Apply Online