ป้ายทะเบียนรถ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงว่ารถคันดังกล่าวนั้นได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมคะว่า แผ่นป้ายทะเบียนรถ ที่เรามักเห็นบนท้องถนนนั้นมีหลากหลายสี ที่พบบ่อยสุดก็จะเป็น ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ และยังมีสีอื่นๆอีกมากมาย แต่เคยรู้หรือไม่ว่าความหมายจริงๆของแต่ละสีคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ใช้งานแบบไหน วันนี้ GRAB เลยได้รวบรวม สีป้ายทะเบียนรถ แต่ละสีมีความหมายอะไรบ้าง มาฝากเพื่อนๆกันค่ะ
สีป้ายทะเบียนรถมีแบบไหนบ้าง
- ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ
รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์
- ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- ป้ายสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว
รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ รถบรรทุกขนาดเล็ก
- ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ
รถจักรยานยนต์ / รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
- ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีแดง
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
- ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
รถยนต์ 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ
- ป้ายสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว
รถยนต์รับจ้าง 3 ล้อ เช่น รถตุ๊กๆ
- ป้ายสีเขียวสะท้อนแสงตัวหนังสือสีขาว/สีดำ
รถบริการทัศนาจร รถบริหารธุรกิจ รถบริการให้เช่า เช่น รถลีมูซีนสนามบิน
- ป้ายสีส้มสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ
รถแทรกเตอร์ รถบนถนน รถพ่วง และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม
- ป้ายสีแดงสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ
รถยนต์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสามารถใช้งานบนถนนเพียงชั่วคราว
- ป้ายสีขาวไม่สะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ
รถยนต์ของผู้แทนทางการทูตขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศขีดแล้วตาม ด้วยเลขทะเบียนรถ
- ป้ายสีฟ้าไม่สะท้อนแสง ตัวหนังสือสีขาว
รถเฉพาะหน่วยงานพิเศษ อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงสุล, อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานทูต, อักษร อ : องค์กรระหว่างประเทศ
รถประเภทไหน ต้องจดทะเบียน
ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2473 ซึ่งรายละเอียดที่แยกประเภทจะมีแบบลักษณะ และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป โดยการแบ่งตามแต่ละประเภทนี้นำมาซึ่งความต่างของการเสียภาษี ค่าธรรมเนียมในการโอน และเอกสารในการทำเรื่องของกรมขนส่งที่แตกต่างกัน ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ได้มีการแบ่งประเภทรถจดทะเบียนในประเทศไทยจำแนกทั้งหมดเป็น 18 ประเภท จะแบ่งแต่ละประเภทอย่างไรบ้างตามรายละเอียดดังนี้
ประเภทที่ 1: รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรือ รย.1 ขนาดของรถต้องกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร
ประเภทรถจดทะเบียนนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีดังนี้
- เก๋งตอนเดียว
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
- นั่งสองแถว
- นั่งสองตอนสองแถว
- นั่งสองตอนท้ายบรรทุก
- ประทุนตอนเดียว
- ประทุนสองตอน
- ตู้นั่งสามตอน
- รถเฉพาะกิจ (มอเตอร์โฮม)
- รถเฉพาะกิจ (ถ่ายทอดสัญญาณ)
- รถเฉพาะกิจพยาบาล ประเภทที่ 3 : รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือ รย.3 ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร รวมถึงความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถต้องไม่เกิน 3 ใน 5 (สามารถความยาววัดจาก ศูนย์กลางเพลาล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง)
ประเภทของรถบรรทุกส่วนบุคคล มีดังนี้
- เก๋งทึบบรรทุก
- กระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- กระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้าย)
- ตู้บรรทุก
- รถดับเพลิง
- รถเฉพาะกิจ (ขยะมูลฝอย)
- รถเฉพาะกิจ (คอนกรีต)
- รถเฉพาะกิจ (น้ำอัดลม)
- รถเฉพาะกิจ (น้ำ)
- รถเฉพาะกิจ (ซีเมนต์ผง)
ประเภทที่ 2: รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือ รย.2 รถต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร รวมถึงความยาวของตัวถัง ศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถ ต้องมีความยาวไม่เกิน 2 ใน 3 ของความยาว (สามารถวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อและหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง)
ประเภทรถจดทะเบียนนั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน มีดังนี้
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
- นั่งสองตอนสองแถว
- นั่งสองแถว
- ตู้นั่งสามตอน
- ตู้นั่งสี่ตอน
- รถเฉพาะกิจ (มอเตอร์โฮม)
- รถเฉพาะกิจพยาบาล
ประเภทที่ 3: รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หรือ รย.3 ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 12 เมตร รวมถึงความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถต้องไม่เกิน 3 ใน 5 (สามารถความยาววัดจาก ศูนย์กลางเพลาล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง)
ประเภทของรถบรรทุกส่วนบุคคล มีดังนี้
- เก๋งทึบบรรทุก
- กระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- กระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้าย)
- ตู้บรรทุก
- รถดับเพลิง
- รถเฉพาะกิจ (ขยะมูลฝอย)
- รถเฉพาะกิจ (คอนกรีต)
- รถเฉพาะกิจ (น้ำอัดลม)
- รถเฉพาะกิจ (น้ำ)
- รถเฉพาะกิจ (ซีเมนต์ผง)
ประเภทที่ 4: รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือ รย.4 ขนาดของรถต้องมีขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร และยาวไม่เกิน 4 เมตร ส่วนในเรื่องของเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ประเภทของรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีดังนี้
- ประทุนสองตอน
- ประทุนสามตอน
- ประทุนสองแถว
- กระบะบรรทุกพื้นเรียบ
- กระบะบรรทุก (ไม่มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคา)
- กระบะบรรทุก (เสริมกระบะข้าง)
- กระบะบรรทุก (มีหลังคาปิดด้านข้างและด้านท้าย)
- ตู้บรรทุก
ประเภทที่ 5: รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด หรือ รย.5 แน่นอนว่าตามประเภทนี้ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตูเท่านั้น (น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม) ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร รวมถึงเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร และที่สำคัญตามกฎหมายรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารห้ามเกินเจ็ดคน
ประเภทรถรับจ้างระหว่างจังหวัด มีดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 6: รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน หรือรย.6 นอกจากจะต้องเป็นรถเก๋งสองตอน ขนาดห้ามกว้างเกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดอื่นๆในรถประเภทนี้ที่กำหนดไว้อีกด้วย
- มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู ซึ่งต้องเป็นประตูที่มิได้ติดตั้งระบบควบคุมการปิดเปิดประตูรถจากศูนย์กลาง (CENTRAL LOCK)
- กระจกกันลมต้องโปร่งใสเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในรถและสภาพการจราจรภายนอก
- ห้ามติดวัสดุใดหรือปิดส่วนใด ของกระจก เว้นแต่เป็นเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด หากติดวัสดุที่มีลักษณะบังหรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมหน้าจะต้องปฏิบัติตามขนาดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
- เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป
- ประเภทรถจดทะเบียนรถยนต์รับจ้าง หรือ รถแท็กซี่ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 17 เมษายน 2535 ข้อกำหนดคือต้องเป็นรถเก๋งสองตอนหรือรถเก๋งสองตอนที่มีพื้นที่บรรทุกภายในรถ ตัวรถต้องผลิตจากสำเร็จจากผู้ผลิตเท่านั้น และมีความกว้างของตัวรถต้องไม่เกิน 2.5 เมตร ความยาวต้องไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู และมีเครื่องยนต์ที่มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ประเภทรถรับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน มีดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 7: รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง หรือ รย.7 ลักษณะของประเภทรถจดทะเบียนนี้ต้องเป็นรถสองตอน ขนาดของรถต้องมีความกว้างของไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร และมีมากกว่าสองประตู
ประเภทรถสี่ล้อเล็กรับจ้าง มีดังนี้
- นั่งสองตอน
ประเภทที่ 8: รถยนต์รับจ้างสามล้อ หรือ รย.8 ต้องรถรับจ้างสามล้อแบบเปิดประทุนนั่ง 2 ตอน หรือ 2 แถวนั่นเอง ขนาดกว้างห้ามเกิน 1.50 เมตร และยาวไม่เกิน 4 เมตร
ประเภทรถรับจ้างสามล้อ มีดังนี้
- ประทุนสองตอน
- ประทุนสองแถว
ประเภทที่ 9: รถยนต์รับจ้างสามล้อ หรือ รย.9 รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ลักษณะเป็นรถเก๋ง สองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งเป็นรถยนต์โดยสารประจำทางเป็นพาหนะที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อขนส่งผู้โดยสารไปยังโรงแรม ที่อยู่อาศัย สำนักงานผู้โดยสาร หรือผู้ให้บริการทางธุรกิจ
ประเภทรถรับจ้างสามล้อ มีดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 10: รถยนต์บริการทัศนาจร หรือ รย.10 อนุญาตให้ใช้รถยนต์โดยสารหรือรถเช่าที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งเป็นประเภทรถจดทะเบียนที่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
ประเภทรถบริการทัศนาจร มีดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 11: รถยนต์บริการให้เช่า หรือ รย.11 รถยนต์โดยสารหรือรถเช่าที่สามารถนั่งได้เพียง 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู รถยนต์ต้องมีน้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดของรถกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร และยาวไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งมิใช่รถที่ให้เช่าเพื่อบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ.
ประเภทรถบริการให้เช่า มีดังนี้
- เก๋งสองตอน
- เก๋งสองตอนแวน
- เก๋งสามตอน
- เก๋งสามตอนแวน
- นั่งสองตอน
- นั่งสองตอนแวน
- นั่งสามตอน
- นั่งสามตอนแวน
ประเภทที่ 12: รถจักรยานยนต์ หรือ รย.12 ลักษณะของรถนั้นต้องมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่ม อีกไม่เกินหนึ่งล้อเท่านั้น ขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร และยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ในกรณีที่มีพ่วงข้างลักษณะรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร และยาวไม่เกิน 1.75 เมตร อีกทั้งหากเมื่อนำมาพ่วงกับรถจักรยานยนต์แล้วจะต้องกว้างไม่เกิน 1.5 เมตร จากล้อหลังของรถจักรยานยนต์ถึงล้อรถพ่วง
ประเภทรถจักรยานยนต์ มีดังนี้
- จักรยานยนต์
- จักรยานยนต์พ่วงข้าง (มี/ไม่มีหลังคา)
ประเภทที่ 13: รถแทรกเตอร์ หรือ รย.13 เยานยนต์คือยานพาหนะที่มีล้อหรือสายพานซึ่งมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรเกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลาก เป็นต้น ตามลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีความกว้างไม่เกิน 4.40 เมตร และยาวไม่เกิน 16.20 เมตร
ประเภทรถแทรกเตอร์ มีดังนี้
- รถขุดตัก
- รถแทรกเตอร์
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร
ประเภทที่ 14: รถบดถนน หรือ รย.14 รถที่รู้จักกันดีอย่างรถทำถนน (บดอัดวัสดุบนพื้นให้แน่น) ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 3.50 เมตร และยาวไม่เกิน 8 เมตร
ประเภทที่ 15: รถใช้งานเกษตรกรรม หรือ รย.15 รถที่ใช้เพื่องานเกษตรเท่านั้น และมีสามหรือสี่ล้อตามลักษณะบังคับต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร รวมถึงเครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ประเภทที่ 16: รถพ่วง หรือ รย.16 เป็นส่วนพ่วง หรือรถส่วนที่ต้องใช้รถอื่นลากจูงนั่นเอง ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร
ประเภทที่ 17: รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือ รย.17 จักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 2.50 เมตร และมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร
*ไม่รวมรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและจักรยานที่ติดเครื่องยนต์
ประเภทที่ 18: รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือแอปพลิเคชัน หรือ รย.18 โดยต้องเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันเท่านั้น ไม่สามารถเรียกโบกรถระหว่างทางได้ และต้องคิดค่าบริการจากแอปพลิเคชันเท่านั้นห้ามเรียกราคาเหมาจ่าย
จดทะเบียนรถยนต์รับจ้างผ่านแอปฯ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: ดูสถานที่นำรถไปยื่นคำขอ และตรวจสภาพ
ตรวจสอบข้อมูลตามทะเบียนรถได้ดังนี้
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ | ทะเบียนรถ | ทะเบียนบ้าน | ยื่นคำขอ และตรวจสภาพ |
คนขับ | กทม. | กทม. | เขต 5 หรือตามทะเบียนบ้าน |
กทม. | ต่างจังหวัด | เขต 5 หรือตามทะเบียนบ้าน | |
ต่างจังหวัด | กทม. | ขนส่งประจำ จ. ที่รถจดทะเบียน | |
ต่างจังหวัด | ต่างจังหวัด | ขนส่งประจำ จ. ที่รถจดทะเบียน | |
ไฟแนนซ์ | กทม. | – | เขต 5 หรือขนส่งประจำพื้นที่ของไฟแนนซ์ |
ต่างจังหวัด | – | ขนส่งประจำพื้นที่ของไฟแนนซ์ |
ขั้นตอนที่ 2: ขอความเห็นชอบ
- รถทะเบียน กทม.
- กรอก ฟอร์ม พร้อมอัปเดตเอกสาร เพื่อขอใบรับรองสังกัดแอปจากแกร็บ (ตามขั้นตอนก่อนหน้า)
- จัดเตรียมเอกสารให้พร้อม
- เมื่อถึงวันที่จอง นำเอกสารเข้าขอความเห็นชอบที่ขนส่ง เขต 5 อาคาร 3 ชั้น 3 (ค่าธรรมเนียม 5บ.)
- แนะนำให้ไปที่ขนส่งภายในเวลา 8.00 น เพื่อให้ดำเนินการเสร็จภายใน 1 วัน
- กรอกใบขอความเห็นชอบ และยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่
เมื่อดำเนินการขอความเห็นชอบเรียบร้อย จะได้เอกสารสำหรับส่งตรวจสภาพรถ (นำไปใช้ในขั้นตอนตรวจสภาพรถต่อไป)
- รถทะเบียนต่างจังหวัด
- กรอกฟอร์ม พร้อมอัปเดตเอกสาร เพื่อขอใบรับรองสังกัดแอปจากแกร็บ (ตามขั้นตอนก่อนหน้า)
- นำเอกสารไปยื่นขอความเห็นชอบ ที่สำนักงานขนส่งหลักของจังหวัด (ค่าธรรมเนียม 5บ.)
เมื่อเซ็นเอกสารขอความเห็นชอบแล้ว ไปตรวจสภาพรถ และจดทะเบียนตามขั้นตอนถัดไปได้เลย
ขั้นตอนที่ 3: นำรถยนต์เข้าตรวจสภาพ
- นำเอกสารส่งตรวจสภาพรถ (ได้หลังจากเซ็นหนังสือขอความเห็นชอบ) มายื่นที่ส่วนตรวจสภาพรถ
- นำรถเข้าตรวจสภาพ ในจุดที่กรมขนส่งแต่ละสาขากำหนด
- กลับมารับเอกสารรับรองการตรวจสภาพรถที่ส่วนตรวจสภาพรถ เพื่อนำไปยื่นจดทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4: ยื่นจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสาธารณะผ่านแอป ฯ
- ยื่นเอกสารรับรองการตรวจสภาพที่ส่วนทะเบียนรถยนต์ (ค่าธรรมเนียม 25บ./ หากรถติดไฟแนนซ์มีค่าธรรมเนียมเพิ่ม 25บ.)
- รอรับเอกสารยืนยันการเปลี่ยนประเภทรถยนต์
ขั้นตอนที่ 5: รับสติ๊กเกอร์ รถรับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
- นำเอกสารการจดทะเบียนกลับมายื่นที่ส่วนตรวจสภาพรถ
- ชำระค่าธรรมเนียม (50 บ.) และรับสติกเกอร์รับรองการเป็นรถรับจ้างสาธารณะ
เมื่อได้รับสติ๊กเกอร์แล้ว อย่าลืมอัปเดตในแอป Grab Driver ด้วยนะคะ
คุณสมบัติรถที่สามารถจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างผ่านแอปฯ ได้
- สามารถจดทะเบียนรถได้คนละ 1 คัน
- ชื่อเจ้าของรถจะต้องตรงกับชื่อผู้ให้บริการเท่านั้น
- รถยนต์ที่นำมาจดทะเบียนจะต้องมีอายุไม่เกิน 9 ปี
- ไม่ต้องเปลี่ยนทะเบียนเป็นป้ายเหลือง และไม่มีข้อกำหนดเรื่องติดฟิล์ม
พิเศษ! แกร็บใจดีออกให้! ค่าใช้จ่ายไฟแนนซ์ เมื่อจดรถรับจ้างผ่านแอปฯ คลิกเพื่อดูรายละเอียด
สำหรับการจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างผ่านแอปฯ ทางแกร็บได้มีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกให้พี่ ๆ ทำการจดทะเบียนรถรับจ้างในทุก ๆ ขั้นตอน ซึ่งจะทำให้พี่ ๆ คนขับที่รับงานกันอยู่แล้วก็สามารถขับขี่ รับงานได้อย่างสบายใจไม่ต้องกังวลอีกต่อไป รวมถึงพี่ ๆ คนขับที่ต้องการ ต่อภาษี และสติ๊กเกอร์รถรับจ้างผ่านแอปฯ Grab ก็ได้รวบรวมวิธีการมาเรียบร้อยแล้ว พี่ ๆ สามารถทำตามที่ Grab แนะนำได้เลยค่ะ
อย่างไรก็ตาม รถยนต์หรือยานพาหนะต่าง ๆ ที่มีการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรใช้งานรถให้ตรงกับประเภทของป้ายทะเบียนนั้น หากมีการใช้งานที่ผิดประเภท และเจ้าหน้าที่ตรวจพบจะถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกับการใช้ป้ายทะเบียนซีด สีป้ายทะเบียนจาง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดต่าง ๆ เช่น หมวดอักษร ตัวเลข หรือจังหวัด ได้อย่างชัดเจน สามารถดำเนินการขอแผ่นป้ายทะเบียนใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้หากสนใจสมัคร GrabBike GrabCar หรืออยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ https://www.grab.com/th/driver/drive/